.ยินดีต้อนรับสู่เว็บการเรียนการสอนออนไลน์วิชาพิมพ์ดีดเบื้องต้น


บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานในการเรียนพิมพ์อังกฤษ

ส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่องพิมพ์ดีดอังกฤษ 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ส่วนประกอบพิมพ์ดีด

ส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่องพิมพ์ดีดอังกฤษ มีดังนี้
  1. ด้ามปัดแคร่ (Carriage Return Lever)
  2. ลูกบิดซ้าย – ขวา (Left-Right Cylinder Knob)
  3. ปุ่มปรับระยะบรรทัด (Variable Release Lever)
  4. ก้านฟรีบรรทัด (Platen Release)
  5. ปุ่มปล่อยแคร่ซ้าย – ขวา (Left-Right Carriage Release)
  6. ก้านล้างแคร่จำกัดตอนทั้งหมด ซ้าย – ขวา  (Left-Right Total Tabulator)
  7. ที่ตั้งระยะบรรทัด (Line Spacer)
  8. แผงนำกระดาษ (Paper Guide)
  9. ปุ่มกั้นระยะซ้ายหรือกั้นหน้า (Left Margin)
  10. แนวระดับบรรทัด (Line Indicator)
  11. แผงรองกระดาษ (Paper Rest)
  12. แผงรองลบ (Erasing Table)
  13. ปุ่มกั้นระยะขวาหรือกั้นหลัง (Right Margin)
  14. ก้านคลายกระดาษ (Paper Release Lever)
  15. คานทับกระดาษ (Paper Holding Bar)
  16. ลูกยางทับกระดาษ (Paper Bail Rolls)
  17. ที่จับบัตร (Card Holder)
  18. ปุ่มตั้งระยะ (Tabulator)
  19. แป้นถอยหลัง (Back Space)
  20. แป้นยกแคร่อักษรบนซ้าย – ขวา (Left & Right Shift Key)
  21. ก้านปรับน้ำหนักการพิมพ์ (Touch Control)
  22. คานเว้นวรรค (Space Bar)
  23. แป้นล็อกอักษรบน/อักษรตัวใหญ่  (Shift Lock)
  24. ก้านปรับผ้าหมึกพิมพ์ (Ribbon Adjuster)
  25. แป้นขอตัวอักษร (Margin Release)
  26. ปุ่มปลดระยะหรือปุ่ม Tab (Tabulator Clearing)
  27. คาน Tab (Tabulator)
  28. ฝาครอบเครื่อง (Top Cover)
ส่วนต่างๆ ที่สำคัญและใช้ประจำ
         เนื่องจากส่วนต่างๆ ของเครื่องพิมพ์ดีดมีมากมาย นักเรียนอาจจำไม่ได้ทังหมดฉะนั้นในระยะแรก นักเรียนจะต้องพยายามจดจำส่วนต่างๆ ที่สำคัญและใช้ประจำในเครื่องพิมพ์ดีดก่อน จะได้ไม่สับสน ได้แก่
  1. แผงนำกระดาษ (Paper Guide)
  2. ปุ่มกั้นหน้า - กั้นหลังซ้ายและขวา (Left & Right Margin)
  3. คานทับกระดาษ (Paper Holding Bar)
  4. ลูกยางทับกระดาษ (Paper Bail Rolls)
  5. ระยะบรรทัด (Line Spacer)
  6. ปุ่มบิดลูกยางใหญ่ (Left & Right Cylinder Knob)
  7. ด้ามปัดแคร่ (Carriage Return Lever)
  8. ก้านคลายกระดาษ (Paper Release Lever)
  9. Tab - หรือ Tab + (Tabulator Clearing and Setting)
  10. แป้นถอยหลัง (Back Space)
  11. คานเว้นวรรค (Space Bar)
ประวัติเครื่องพิมพ์ดีดอังกฤษ
         เครื่องพิมพ์ดีดมีวิวัฒนาการต่อเนื่องกันมาหลายยุคสมัย  เครื่องพิมพ์ดีดเครื่องแรกมีต้นกำเนิดมาจากประเทศอังกฤษ คือในปี ค.ศ. 1714 สมเด็จพระนางเจ้าแอนน์แห่งประเทศอังกฤษ ได้พระราชทานิมิตสิทธิเครื่องมือชนิดหนึ่งซึ่งสามารถเขียนตัวอักษรได้ทีละตัวหรือต่อเนื่องกันไปได้เรื่อยๆ ให้กับเฮนรี่ มิล วิศวกรชาวอังกฤษ เมื่อวันที่ 17 มกราคม 1714 (พ.ศ. 2257) จากนั้นข่าวคราวเรื่องเครื่องพิมพ์ดีดก็หายไป แต่จากแนวความคิดของเฮนรี่ มิล ได้ผลักดันให้วิลเลี่ยม ออสตินเบิท ชาวอเมริกา คิดค้นและประดิษฐ์เครื่องมือเขียนหนังสือชนิดหนึ่งขึ้นมาจนได้รับสิทธิบัตร เครื่องมือดังกล่าวเรียกว่า เครื่องมือเขียนหนังสือ (Writing Machine) ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม วิธีการพิมพ์แป้นจะหมุนคล้ายหน้าปัดนาฬิกา แต่ยังพิมพ์ได้ช้ากว่าการเขียนด้วยมือ
         ปี ค.ศ. 1867 คริสโตเฟอร์ ลาทัม โซลส์ (Chitstopher Latham Sholes) นักประดิษฐ์ชาวอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ที่ชอบประดิษฐ์เครื่องมือต่างๆ เป็ฯงานอดิเรก ขณะที่ค้นคิดประดิษฐ์เครื่องมือประทับตัวเลขหน้าหนังสืออยู่นั้น ได้อ่านเรื่องเกี่ยวกับการประดิษฐ์เครื่องมือชนิดหนึ่งของจอร์น  แพรตต์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับสิ่งประดิษฐ์ของเขามาก  จึงได้รับคำแนะนำจากเพื่อนๆ ให้ทำการทดลองประดิษฐ์เครื่องมือเขียนหนังสือขึ้น  ต่อจากนั้นได้ประดิษฐ์เครื่องมือที่พิมพ์ตัวหนังสือและตัวเลขได้  แล้วปรับปรุงแก้ไขจนสมบูรณ์สามารถใช้งานได้  โดยตั้งชื่อว่า Type-writer ต่อมาได้ขายลิขสิทธิ์ให้กับบริษัทเรมิงตัน  และได้ปรับปรุงมาตรฐานจนสามารถพิมพ์ได้รวดเร็วขึ้้น  หลังจากนั้นจึงมีเครื่องพิมพ์ดีดที่ได้มาตรฐานออกสู่ตลาดทั่วไปเครื่องพิมพ์ดีดยี่ห้อต่างๆ ที่ได้รับความสำเร็จในการผลิตออกจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา  คือยี่ห้อเรมิงตัน รอยัล อันเดอร์วูด สมิธโคโรน่า และ ไอ บี เอ็ม ส่วนในประเทศทางด้านยุโรป เช่น ประเทศเยอรมนี มียี่ห้อโอลิมเปีย แอดด์เลอร์ ออฟติน่า ประเทศอิตาลี มีโอลิเวตตี้ และฮอลแลนด์ มีเฮอร์เมสส์ เป็นต้น
         เครื่องพิมพ์ดีดภาษาอังกฤษเข้ามาในเมืองไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2419 เปิดแสดงให้ประชาชนชม ณ บริษัทแรมเซย์ ห้างชั้นนำของกรุงเทพฯ ในยุคนั้น หลังจากนั้นอีกสิบกว่าปีจึงได้มีการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยขึ้น และใช้กันต่อๆ จนมาถึงทุกวันนี้
        ปัจจุบันนี้เครื่องพิมพ์ดีดนับว่าเป็นอุปกรณ์สำนักงานขั้นพื้นฐานที่นำมาประยุกต์ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทันสมัย  ประหยัดเวลา  แรงงาน  และค่าใช้จ่ายฉะนั้น  ผู้ปฏิบัติงานจึงมีความจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานในการพิมพ์ดีดเป็นอย่างดี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้สูงขึ้น


ระเบียบการปฏิบัติในห้องพิมพ์



1. ข้อควรปฏิบัติ  
    1.1 ตรงต่อเวลา ไม่เข้าห้องสาย
    1.2 นั่งประจำเครื่องตามหมายเลขที่นั่งของตนเอง
    1.3 เปิดและพับผ้าคลุมเครื่องให้เรียบร้อย วางในที่ที่เหมาะสม หรือใช้วางรองแบบพิมพ์ 
    1.4 ตรวจดูความเรียบร้อยของเครื่องพิมพ์และบนโต๊ะพิมพ์
    1.5 ใส่กระดาษรองพิมพ์ก่อนการพิมพ์งานทุกครั้ง
    1.6 หลังการใช้เครื่องควรโยกก้านคลายกระดาษขึ้น เพื่อยืดอายุการใช้งานของลูกยาง
    1.7 เมื่อเลิกใช้เครื่อง ควรเลื่อนแคร่ไว้ตรงกลาง และคลุมผ้าให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันฝุ่นละออง 
    1.8 ดูแลความเรียบร้อยภายในห้อง เช่น สวิตส์ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ 
    1.9 เลื่อนเก้าอี้ไว้ใต้โต๊ะก่อนลุกออกไป



2. ข้อห้าม
    2.1 ห้ามเข้าห้องเรียนก่อนได้รับอนุญาต 
    2.2 ห้ามนำอาหาร ของขบเคี้ว และเครื่องดื่มทุกชนิดเข้ามารับประทานในห้องเรียน 
    2.3 ห้ามเปลี่ยนที่นั่งก่อนได้รับอนุญาต 
    2.4 ห้ามโยกย้ายเครื่องพิมพ์ดีดโดยเด็ดขาด 
    2.5 ห้ามขีดเขียนข้อความใดๆ บนเครื่องพิมพ์ดีด โต๊ะเก้าอี้ หรือผ้าคลุมเครื่อง 
    2.6 ห้ามเคาะแป้นอักษรก่อนใส่กระดาษพิมพ์ 
    2.7 ห้ามพิมพ์โดยไม่ใส่กระดาษรองพิมพ์
    2.8 ห้ามไว้เล็บยาว เพราะจะทำให้พิมพ์ช้า งานพิมพ์ไม่มีประสิทธิภาพ

  
การสร้างกิจนิสัยที่ดีในการพิมพ์
      ครูผู้สอนต้องพยายามสร้างกิจนิสัยที่ดีในการพิมพ์และปลูกฝังเจตคติ จิตสำนึก และ กิจนิสัยที่ดีในการทำงาน โดยให้นักเรียนฝึกปฏิบัติดังนี้
1. ท่านั่งพิมพ์ดีด
2. การใส่กระดาษและการถอดกระดาษออกจากเครื่องฯ
3. การตั้งระยะกั้นหน้า กั้นหลัง
4. การวางนิ้ว การเคาะแป้นอักษร และการสืบนิ้ว
5. การวางแบบพิมพ์



การแก้ไขเครื่องพิมพ์ดีดอย่างง่าย
1.  อาการขัดข้องที่เกิดจากการทำงานของระบบผ้าหมึก
2.  อาการขัดข้องที่เกิดจากก้านพิมพ์ดีดค้าง ฝืด หรือหนัก
3.  อาการขัดข้องที่เกิดจากสายพานขาดหรือหลุด

4.  การเปลี่ยนผ้าหมึกพิมพ์ดีด


การบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์
    เครื่องพิมพ์ดีดเป็นอุปกรณ์สำนักงานที่ต้องดูแลรักษาให้อยู่สภาพที่สามารถทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพ และมีอายุการใช้งานได้ยาวนาน กิจนิสัยที่ดีของผู้ใช้เครื่องพิมพ์ดีดก็คือหมั่นดูแลรักษาเครื่องพิมพ์ดีดเป็นประจำสม่ำเสมอควรปฏิบัติ ดังนี้
    1. ตรวจเช็คสภาพเครื่องพิมพ์ดีดก่อนใช้ทุกครั้ง
    2. เมื่อเลิกใช้เครื่องฯ ให้ยกลูกยางทับกระดาษขึ้น และปรับก้านคลายกระดาษให้อยู่ในตำแหน่งคลายเพื่อมิให้ลูกยางทักบกระดาษกดลูกยางใหญ่ไว้ตลอกเวลา เป็นการช่วยยืดอายุลูกย่างใหญ่
    3. หลังเลิกใช้เครื่องฯ ควรเลื่อนแคร่มาไว้ตรงกลางเครื่องฯ แล้วนำผ้าคลุมเครื่องพิมพ์ดีดคลุมให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันฝุ่นละออง
    4. การทำความสะดาดเครื่องพิมพ์ดีด อาจจะทำทุกเดือนด้วยการเป่าเอาฝุ่นละอองและเศษผงต่าง ๆ ออกโดยใช้แปรงขนอ่อนปัดเศษยางลบ หรือฝุ่นละอองภายในเครื่องฯ ออก แล้วใช้เครื่องเป่าลมเป่าฝุ่นออกอีกครั้ง
    5. การทำความสะอาดก้านอักษร ควรใช้แปรงขนสั้นแปรงก้านอักษรทุกตัว เพื่อให้ฝุ่นที่เกาะอยู่หลุดออกจากก้านอักษร โดยแปรงเบา ๆ จะทำให้ตัวอักษรมีความคมชัด
    6. การทำความสะอาดลูกยางใหญ่ ให้ใช้ผ้าหรือสำลีชุบแอลกอฮอล์พอหมาด เช็ดทำความสะอาดลูกยางใหญ่ และลูกยางป้อนกระดาษ เพื่อให้ลูกยางสะอาดและมีอายุการใช้งานยาวนาน

    7. การใช้น้ำมันหล่อลื่น ในบางจุดของเครื่องพิมพ์ดีดควรหยอดน้ำมันเล็กน้อย เพื่อให้เครื่องฯ มีความคล่องตัวไม่ฝืด ถ้าหยอกน้ำมันปริมาณมากเกินไปทำให้เหนียว และเป็นตัวทำให้ฝุ่นเกาะได้มากขึ้นถ้าไปโดนลูกยางอาจทำให้ลูกยางบวมได้